Last updated: 21 พ.ย. 2564 | 1007 จำนวนผู้เข้าชม |
จิตใจดี ความรู้สึกดี
ส่งผลดีต่อการฟื้นฟูร่างกาย ทั้งผู้ถูกดูเเลเเละผู้ดูเเล
การมอบประสบการณ์ใหม่ หรือประสบการณ์เดิมให้คนที่กำลังป่วยได้รับไม่ว่าจะผ่าน รูป รส กลิ่น เสียง หรือการสัมผัส ส่งผลอย่างยิ่งต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ให้เขาได้ผ่อนคลายความกังวล เเละมีความสุขจากประสบการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ อย่างน้อยก็ให้เขาได้ลืมความเจ็บปวดชั่วขณะ อย่างเช่น ผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยาง หากเราได้ลองให้เขาได้ใช้ลิ้นสัมผัสรสชาติเพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยได้มีความสุขจากการได้รับรู้รส มีความสุขได้ซึ่งส่งผลอันยิ่งใหญ่ต่อผู้ป่วย เเต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่คนดูเเลจะให้ผู้ป่วยได้รับบางสิ่งบางอย่างก็ต้องอยู่ภายใต้การเเนะนำจากผู้รู้ เช่น คุณหมอ เเละพยาบาล ควบคู่กันไป
จากที่เกริ่นมาข้้างต้นนี้ Kassmedicare เเค่อยากเป็นส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งในการให้กำลังใจทุกคน ทุกบ้าน ที่ตอนนี้ต้องดูเเลผู้ป่วย ดูเเลผู้ป่วยอย่างมีความสุข เมื่อไม่นานมานี้ ในบ้านเรามีการพูดถึง Palliative care หรือ การดูเเลผู้ป่วยเเบบประคับประคอง กันมากขึ้น ซึ่งความหมายของ Palliative care คือ "วีธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นระยะสุดท้ายของโรคและครอบครัว โดยให้การป้องกันและบรรเทาอาการตลอดจนความทุกข์ทรมานด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น การดูแลจะเน้นการดูแลที่เป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพอันได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย" อ้างอิงจาก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว FamMed.mahidol.ac.th จากความหมายเเละหลักการของการดูเเลผู้ป่วยเเบบประคับประคองนี้เป็นการดูเเลเเบบองค์รวมทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ สังคมของทั้งผู้ป่วย เเละครอบครัวในช่วงที่เป็นระยะสุดท้าย ซึ่งจะดีกว่าอย่างเเน่นอนหรือไม่หากเราเข้าใจหลักการนี้ดีเเล้วสามารถนำมาปรับใช้เลยโดยไม่ต้องรอจนวาระสุดท้ายนั้นมาถึง เเละในทุกสถานการณ์เเม้ว่าในครอบครัวของเรายังไม่มีใครเจ็บป่วย
อ้างอิง :
หลักการของ Palliative care https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/postgrad/doctorpalliative1th
สารบัญ ห้องเรียน Palliative Care https://www.facebook.com/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-Palliative-Care-103028654807445/
2 ต.ค. 2564